ปรางค์ฤๅษี (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ)

พิกัด: 15°29′22.1″N 101°09′23.6″E / 15.489472°N 101.156556°E / 15.489472; 101.156556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรางค์ฤๅษี
ปรางค์ประธาน
แผนที่
พิกัดของปรางฤๅษี
ที่ตั้งตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไทย
ประเภทโบราณสถาน
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ความเป็นมา
วัสดุศิลาแลง และอิฐ
สร้างพุทธศตวรรษที่ 16
สมัยทวารวดี
วัฒนธรรมขอม
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนปรางค์ฤๅษี (ปรางค์นอก)
ขึ้นเมื่อ26 มีนาคม พ.ศ. 2506
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในจังหวัดเพชรบูรณ์
เลขอ้างอิง0006882

ปรางค์ฤๅษี เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง

จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ

โบราณสถาน[แก้]

ปรางค์ทางใต้ (ซ้าย) ของปรางค์ประธาน (ขวา)

ลักษณะของปราสาทคาดการณ์ว่าร่วมสมัยปรางค์ศรีเทพ ปราสาทศิลปะขอมทั่วไปมักวางทิศตะวันตก จากการวางปราสาททางตะวันออกของปรางค์ฤๅษี จึงเชื่อว่า เป็นปราสาทที่เก่าที่สุดในเมืองศรีเทพ

ปราสาทหมายเลข 1 เป็นปราสาทแบบขอม ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนบนฐานศิลาแลง ซึ่งรูปแบบไม่คล้ายคลึงกับปรางค์ศรีเทพ ฐานมีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ 7.5 เมตร ปรางค์มีแผนมังสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ยี่สิบด้านละ 4.6 เมตร ยอดปรางค์ทำมาจากหินทรายสีเทาทรงกลม ค้นพบทางตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถาน

กรอบประตูมีหน้าบันลักษณะวงโค้งสูง พบมากในศิลปะขอมแบบสมโบร์ไพร์กุก เสาแปดเหลี่ยมประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยมพบครั้งแรกในศิลปะขอมแบบกุเลน หน้าปรางค์ประธานพบอาคารก่อด้วยศิลาแลงคาดว่าเป็นโคปุระและบรรณาลัย พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ

ปราสาทหมายเลข 2 เป็นปราสาททางใต้ของปรางค์ประธาน ก่อกำแพงแก้วล้อมแยกปรางค์ประธานแบบขอม ฐานมีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 5.2 เมตร ทางใต้พบลวดบัวเชิงฐานปรางค์ ปรางค์มีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 4 เมตร ก่อด้วยอิฐพังทลายเหลือฐานปราสาท พบโบราณวัตถุ ได้แก่ จารึก 72 อักษรขอม อายุพุทธศตวรรษที่ 16

อ้างอิง[แก้]

  • อุทยา่นประวัติศาสตร์ศรีเทพ. เมืองศรีเทพ. "ศรีเทพ เมืองศุนย์กลางความเจริญแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก". มปป.